Thursday, July 29, 2010

เตาอบแห้งลำไยสมองกลอัฉริยะ

เทคโนโลยีการแปรรูปลำไยเป็น "ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง" และ "ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก" ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ได้มีช่องทางการขายลำไยสดเพิ่มขึ้น ก่อนหน้าที่จะมีการแปรรูปลำไย เป็นลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง หรือลำไยอบแห้งทั้งเปลือกนั้น จะขายเป็นลำไยสดเพื่อบริโภคภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือแปรรูปเป็นลำไยกระป๋อง ได้เท่านั้น บางปีราคาตกต่ำมาก ก็แทบจะขาดทุนกันเลยทีเดียว นอกจากต้นทุนการผลิตแล้ว ต้นทุนที่มากที่สุดในการผลิตคือค่าแรงในการเก็บลำไยสด ถ้าเป็นการเก็บลำไยสดใส่ตระกร้าเพื่อขายเป็นลำไยสดให้ผู้บริโภคนั้น ค่าแรงเฉลี่ยจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 4 - 5 บาท เลยทีเดียว ส่วนค่าแรงเฉลี่ยนการเก็บลำไยเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 1-2 บาท
ในส่วนของนักวิชาการ และนักวิจัย ก็ไ้ด้มีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำลำไยอบแห้ง ให้ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนการแปรรูปให้ต่ำลง ลดระยะเวลาการอบแห้ง ลดแรงงาน เพิ่มคุณภาพลำไยอบแห้ง ซึ่งจะเห็นจากข่าวสารที่ออกมาเป็นระยะ ในบล๊อกนี้จึงอยากจะรวบรวมผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ไว้
ในบทความนี้จึงขอนำเสนอ "เตาอบแห้งลำไยสมองกลอัฉริยะ" ที่คิดค้นโดย ทีมนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้นำบทความมากจาก เวบไซต์ ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายละเีอียดดังนี้



วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ประกาศความพร้อมรับผลผลิตในฤดูลำไยปีนี้ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ชุดสมองกล เพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไย จำนวน 8 เตา สามารถควบคุมให้ความร้อนแต่ละเตาเสมอเท่ากันหมด คาดจะได้ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งที่มีคุณภาพดี เก็บได้เป็นเวลานานมีเนื้อเป็นสีทอง ลดการบุบและตกเกรดของลำไย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลำไยประมาณ 2 บาทต่อกก. และลดเวลาการอบแห้งลำไยจากเดิม 3 วัน เหลือเพียง 2 วัน

ดร.กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปสนับสนุนภาคเกษตรกรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะนำผลผลิตเข้าสู่ตลาดและ ส่งออกต่างประเทศว่า “ ในเดือนกรกฏาคม 2552 นี้เป็นช่วงสำคัญสำคัญของพี่น้องเกษตรกรสวนลำไยในภาคเหนือที่คาดว่าจะมีผล ผลิตลำไยอบแห้งในปีนี้เพื่อส่งออกกว่าสองแสนตัน มูลค่าประมาณ 2.9 พันล้านบาท กระทรวงวิทย์ฯ โดย เนคเทค/สวทช. ได้เร่งติดตามผลงานที่กระทรวงวิทย์ฯได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับนักวิจัยทั่ว ประเทศที่วิจัยและพัฒนาโครงการที่ตอบสนองความต้องการของพี่น้องเกษตรกร โดยในเดือนกรกาคมนี้ ทีมนักวิจัยของ ม.แม่โจ้ และ ม.เชียงใหม่ ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาชุดควบคุมเตาอบแห้งลำไยที่สามารถให้ความ ร้อนได้สม่ำเสมอ ลดเวลาการอบแห้งลำไยจากไม้ฟืนเดิม 3 วันเหลือเพียงไม่เกิน 2 วัน อุปกรณ์สามารถทํานายความชื้นของลําไยขณะอบแห้งและทํานายเวลาที่เหมาะสมในการ กลับทิศทางลมเพื่อลดความเสี่ยงในการบุบของลําไย เกษตรกรผู้ใช้เตาอบแห้งแบบสลับลมร้อนที่มีชุดควบคุมสมองกลฝังตัวนี้ จะสามารถควบคุมการอบแห้งได้ด้วยตนเองอย่างง่าย และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและคงที่ เกษตรกรที่มีเตาอบแบบเดิมสามารถนำมาดัดแปลงเตาที่มีอยู่ได้ในราคาที่ไม่แพง นัก และมีระยะเวลาในการคืนทุนสั้น สามารถนำไปใช้อบแห้งผลผลิตเกษตรที่ตนเองมีอยู่ในครอบครัวหรือชุมชน ส่งผลให้เกิดงานและผลผลิตคุณภาพในระดับรากหญ้าหรือชุมชน ทางด้านสิ่งแวดล้อม เตาอบแห้งที่มีชุดควบคุมสมองกลฝังตัวนี้ จะสามารถควบคุมพลังงานได้คงที่และแม่นยำ ทำให้ความร้อนที่สูญเสียเนื่องจากการปล่อยทิ้งพลังงานน้อยลง ลดภาวะโลกร้อน ลดมลพิษที่ปลดปล่อยสู่อากาศ และลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตความร้อน ในที่นี้ คือประหยัดทรัพยากรชีวมวล เช่น ฟืน เศษไม้ เป็นต้น ”

ด้าน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมความคืบหน้า โครงการวิจัยการพัฒนาชุดสมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยแบบสลับทิศทางลมร้อน ที่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทค/สวทช. ให้การสนับงานวิจัยพร้อมส่งผู้เชียวชาญจากโปรแกรมสมองกลฝังตัวมาช่วยให้คำ ปรึกษา ขณะนี้โครงการได้มีความประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ทีมนักวิจัยของ ม.แม่โจ้ และ ม.เชียงใหม่ ได้วิจัยผลงานที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถของพี่น้องเกษตรกร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือได้ว่าอุปกรณ์สมองกลชุดนี้เป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สำคัญทีมนักวิจัยได้พัฒนาไปถึงขั้นการถ่ายทอดผลงานไปสู่วิสาหกิจชุมชน มีอุตสาหกรรมขนาดย่อมรับเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวไปผลิตในเชิงธุรกิจและ บริการ สร้างอุตสาหกรรมให้กับชุมชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และเกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการและมีราคาที่เหมาะ สม”

ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ จากภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หัวหน้าคณะนักวิจัยในโครงการนี้กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยและบริษัทฯที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยแบบสลับทิศทางลม ร้อน ให้กับ ฝ่ายโรงงานแปรรูปลำไยอบแห้ง วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เรียบร้อยแล้วจำนวน 8 ตู้อบ แต่ละตู้อบสามารถอบแห้งลำไยได้ครั้งละ 2 ตัน ลดเวลาการอบแห้งจากแบบเดิม 3 วัน เหลือเพียง 2 วัน ส่งผลให้เกษตรกรได้ลำไยอบแห้งที่มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้สั่ง ซื้อรายใหญ่โดยเฉพาะจากประเทศจีน และวางแผนการอบแห้งได้แม่นยำมากขึ้น คาดว่าในฤดูผลิตผลิตลำไยของ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูนในปีนี้ ทีมนักวิจัยและบริษัทฯที่รับติดตั้งจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบ คุมเตาอบแห้งลำไยให้วิสาหกิจชุมชนใน จ.เชียงใหม่ได้จำนวน 30 เตาจากจำนวนเตาอบแห้งลำไยทั้งหมดเกือบ 400 เตา อุปกรณ์ชุดนี้มีความพิเศษตรงที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมองกลฝังตัว ในการควบคุมการทำงานของของเตาอบลมร้อนแบบสลับทิศทาง เพื่อให้สามารถอบแห้งลำไยได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ชุดสมองกลที่พัฒนาขึ้นจะตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศขณะอบ แห้งพื่อตรวจสอบระดับความสุก หรือแห้งของลำไย โดยการเปรียบเทียบกับสมการที่ได้จากการวิจัยในโครงการนี้ และฝังไว้ในสมองกลของเครื่องควบคุมของเตาอบ โดยเครื่องควบคุมจะควบคุมการทำงานของลิ้นจ่ายเชื้อเพลิงเพื่อสร้างสภาวะ อุณหภูมิลมร้อนขาเข้าให้เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวมาใช้กับการอบแห้งซึ่งยังไม่มีรายงาน การพัฒนาเทคโนโลยีลักษณะนี้กับเตาอบแห้งลำไยระดับเกษตรกร ทำให้สามารถยกระดับเตาอบแห้งแบบกระบะที่สลับลมร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น ในส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ เดิมจะใช้ฟื้นหรือก๊าซหุ้งต้มเป็นเชื้อเพลิง ควบคุมความร้อนด้วยประสบการณ์ของคนควบคุมเตา แต่อุปกรณ์ชุดนี้จะใช้สมองกลควบคุมโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้พลังงานความร้อนอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้เชื้อเพลิงอย่างเต็มประสิทธิภาพ”



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายสุทัศน์ ปฐมนุพงศ์
ผู้อำนวยการโปรแกรมสมองกลฝังตัว สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
0816334542

ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
089-755-2145
แหล่งที่มา : NECTEC
ข่าวประจำวันที่ : วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2552

No comments:

Post a Comment