Thursday, July 29, 2010

เตาอบแห้งลำไยสมองกลอัฉริยะ

เทคโนโลยีการแปรรูปลำไยเป็น "ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง" และ "ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก" ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ได้มีช่องทางการขายลำไยสดเพิ่มขึ้น ก่อนหน้าที่จะมีการแปรรูปลำไย เป็นลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง หรือลำไยอบแห้งทั้งเปลือกนั้น จะขายเป็นลำไยสดเพื่อบริโภคภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือแปรรูปเป็นลำไยกระป๋อง ได้เท่านั้น บางปีราคาตกต่ำมาก ก็แทบจะขาดทุนกันเลยทีเดียว นอกจากต้นทุนการผลิตแล้ว ต้นทุนที่มากที่สุดในการผลิตคือค่าแรงในการเก็บลำไยสด ถ้าเป็นการเก็บลำไยสดใส่ตระกร้าเพื่อขายเป็นลำไยสดให้ผู้บริโภคนั้น ค่าแรงเฉลี่ยจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 4 - 5 บาท เลยทีเดียว ส่วนค่าแรงเฉลี่ยนการเก็บลำไยเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 1-2 บาท
ในส่วนของนักวิชาการ และนักวิจัย ก็ไ้ด้มีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำลำไยอบแห้ง ให้ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนการแปรรูปให้ต่ำลง ลดระยะเวลาการอบแห้ง ลดแรงงาน เพิ่มคุณภาพลำไยอบแห้ง ซึ่งจะเห็นจากข่าวสารที่ออกมาเป็นระยะ ในบล๊อกนี้จึงอยากจะรวบรวมผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ไว้
ในบทความนี้จึงขอนำเสนอ "เตาอบแห้งลำไยสมองกลอัฉริยะ" ที่คิดค้นโดย ทีมนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้นำบทความมากจาก เวบไซต์ ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายละเีอียดดังนี้



วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ประกาศความพร้อมรับผลผลิตในฤดูลำไยปีนี้ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ชุดสมองกล เพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไย จำนวน 8 เตา สามารถควบคุมให้ความร้อนแต่ละเตาเสมอเท่ากันหมด คาดจะได้ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งที่มีคุณภาพดี เก็บได้เป็นเวลานานมีเนื้อเป็นสีทอง ลดการบุบและตกเกรดของลำไย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลำไยประมาณ 2 บาทต่อกก. และลดเวลาการอบแห้งลำไยจากเดิม 3 วัน เหลือเพียง 2 วัน

ดร.กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปสนับสนุนภาคเกษตรกรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะนำผลผลิตเข้าสู่ตลาดและ ส่งออกต่างประเทศว่า “ ในเดือนกรกฏาคม 2552 นี้เป็นช่วงสำคัญสำคัญของพี่น้องเกษตรกรสวนลำไยในภาคเหนือที่คาดว่าจะมีผล ผลิตลำไยอบแห้งในปีนี้เพื่อส่งออกกว่าสองแสนตัน มูลค่าประมาณ 2.9 พันล้านบาท กระทรวงวิทย์ฯ โดย เนคเทค/สวทช. ได้เร่งติดตามผลงานที่กระทรวงวิทย์ฯได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับนักวิจัยทั่ว ประเทศที่วิจัยและพัฒนาโครงการที่ตอบสนองความต้องการของพี่น้องเกษตรกร โดยในเดือนกรกาคมนี้ ทีมนักวิจัยของ ม.แม่โจ้ และ ม.เชียงใหม่ ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาชุดควบคุมเตาอบแห้งลำไยที่สามารถให้ความ ร้อนได้สม่ำเสมอ ลดเวลาการอบแห้งลำไยจากไม้ฟืนเดิม 3 วันเหลือเพียงไม่เกิน 2 วัน อุปกรณ์สามารถทํานายความชื้นของลําไยขณะอบแห้งและทํานายเวลาที่เหมาะสมในการ กลับทิศทางลมเพื่อลดความเสี่ยงในการบุบของลําไย เกษตรกรผู้ใช้เตาอบแห้งแบบสลับลมร้อนที่มีชุดควบคุมสมองกลฝังตัวนี้ จะสามารถควบคุมการอบแห้งได้ด้วยตนเองอย่างง่าย และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและคงที่ เกษตรกรที่มีเตาอบแบบเดิมสามารถนำมาดัดแปลงเตาที่มีอยู่ได้ในราคาที่ไม่แพง นัก และมีระยะเวลาในการคืนทุนสั้น สามารถนำไปใช้อบแห้งผลผลิตเกษตรที่ตนเองมีอยู่ในครอบครัวหรือชุมชน ส่งผลให้เกิดงานและผลผลิตคุณภาพในระดับรากหญ้าหรือชุมชน ทางด้านสิ่งแวดล้อม เตาอบแห้งที่มีชุดควบคุมสมองกลฝังตัวนี้ จะสามารถควบคุมพลังงานได้คงที่และแม่นยำ ทำให้ความร้อนที่สูญเสียเนื่องจากการปล่อยทิ้งพลังงานน้อยลง ลดภาวะโลกร้อน ลดมลพิษที่ปลดปล่อยสู่อากาศ และลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตความร้อน ในที่นี้ คือประหยัดทรัพยากรชีวมวล เช่น ฟืน เศษไม้ เป็นต้น ”

ด้าน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมความคืบหน้า โครงการวิจัยการพัฒนาชุดสมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยแบบสลับทิศทางลมร้อน ที่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทค/สวทช. ให้การสนับงานวิจัยพร้อมส่งผู้เชียวชาญจากโปรแกรมสมองกลฝังตัวมาช่วยให้คำ ปรึกษา ขณะนี้โครงการได้มีความประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ทีมนักวิจัยของ ม.แม่โจ้ และ ม.เชียงใหม่ ได้วิจัยผลงานที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถของพี่น้องเกษตรกร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือได้ว่าอุปกรณ์สมองกลชุดนี้เป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สำคัญทีมนักวิจัยได้พัฒนาไปถึงขั้นการถ่ายทอดผลงานไปสู่วิสาหกิจชุมชน มีอุตสาหกรรมขนาดย่อมรับเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวไปผลิตในเชิงธุรกิจและ บริการ สร้างอุตสาหกรรมให้กับชุมชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และเกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการและมีราคาที่เหมาะ สม”

ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ จากภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หัวหน้าคณะนักวิจัยในโครงการนี้กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยและบริษัทฯที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยแบบสลับทิศทางลม ร้อน ให้กับ ฝ่ายโรงงานแปรรูปลำไยอบแห้ง วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เรียบร้อยแล้วจำนวน 8 ตู้อบ แต่ละตู้อบสามารถอบแห้งลำไยได้ครั้งละ 2 ตัน ลดเวลาการอบแห้งจากแบบเดิม 3 วัน เหลือเพียง 2 วัน ส่งผลให้เกษตรกรได้ลำไยอบแห้งที่มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้สั่ง ซื้อรายใหญ่โดยเฉพาะจากประเทศจีน และวางแผนการอบแห้งได้แม่นยำมากขึ้น คาดว่าในฤดูผลิตผลิตลำไยของ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูนในปีนี้ ทีมนักวิจัยและบริษัทฯที่รับติดตั้งจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบ คุมเตาอบแห้งลำไยให้วิสาหกิจชุมชนใน จ.เชียงใหม่ได้จำนวน 30 เตาจากจำนวนเตาอบแห้งลำไยทั้งหมดเกือบ 400 เตา อุปกรณ์ชุดนี้มีความพิเศษตรงที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมองกลฝังตัว ในการควบคุมการทำงานของของเตาอบลมร้อนแบบสลับทิศทาง เพื่อให้สามารถอบแห้งลำไยได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ชุดสมองกลที่พัฒนาขึ้นจะตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศขณะอบ แห้งพื่อตรวจสอบระดับความสุก หรือแห้งของลำไย โดยการเปรียบเทียบกับสมการที่ได้จากการวิจัยในโครงการนี้ และฝังไว้ในสมองกลของเครื่องควบคุมของเตาอบ โดยเครื่องควบคุมจะควบคุมการทำงานของลิ้นจ่ายเชื้อเพลิงเพื่อสร้างสภาวะ อุณหภูมิลมร้อนขาเข้าให้เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวมาใช้กับการอบแห้งซึ่งยังไม่มีรายงาน การพัฒนาเทคโนโลยีลักษณะนี้กับเตาอบแห้งลำไยระดับเกษตรกร ทำให้สามารถยกระดับเตาอบแห้งแบบกระบะที่สลับลมร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น ในส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ เดิมจะใช้ฟื้นหรือก๊าซหุ้งต้มเป็นเชื้อเพลิง ควบคุมความร้อนด้วยประสบการณ์ของคนควบคุมเตา แต่อุปกรณ์ชุดนี้จะใช้สมองกลควบคุมโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้พลังงานความร้อนอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้เชื้อเพลิงอย่างเต็มประสิทธิภาพ”



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายสุทัศน์ ปฐมนุพงศ์
ผู้อำนวยการโปรแกรมสมองกลฝังตัว สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
0816334542

ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
089-755-2145
แหล่งที่มา : NECTEC
ข่าวประจำวันที่ : วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2552

Thursday, July 15, 2010

ลำไยสอดไส้วุ้นน้ำผลไม้

ลำไย นั้นสามารถนำผลสดมารัปทานได้ทันที นอกจากนี้แล้ว คนไทยเรายังคิดค้นเมนูได้หลากหลาย เป็นได้ทั้งของคาว และของหวาน
วันนี้ Longan Thai ขอนำเสนอเมนู "ลำไยสอดไส้วุ้นน้ำผลไม้" รับรองว่าได้ชิมแล้วจะติดใจกันเลยล่ะค่ะ

มาทดลองทำกันเลยดีกว่า

เริ่มเตรียมส่วนผสมดังนี้ค่ะ

1. ผลลำไยสดลูกใหญ่ จำนวน 30 ลูก

2. ผง วุ้น 1 1/2 ช้อนชา

3. น้ำเปล่า 3/4 ถ้วย

4. น้ำผลไม้จะเป็นรสใดก็ได้ 1/4 ถ้วย


วิธีทำตามขั้นตอนดังนี้

1. นำลำไยสดมาล้างน้ำ ทำความสะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงนำมาคว้านเมล็ดออก ตั้งพักไว้

2. นำผงวุ้นใส่ลงในน้ำ ยกขึ้นตั้งไฟ คนให้ผงวุ้นละลาย เคี่ยวต่ออีกสักพัก จึงยกลง

3. ใส่น้ำผลไม้สด คนให้เข้ากัน

4. ตักหยอดในลำไย รอให้แข็งตัว ก็นำมารัปทานได้ หรือจะนำไปแช่เย็นก็จะได้ลูกลำไยที่สีสรรสวยงาม
รัปทานเย็นชื่นใจ อร่อยไปอีกแบบค่ะ

Monday, July 12, 2010

เทศกาลลำไย ที่ จังหวัดลำพูน

ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 เป็นวันเปิดงาน "เทศกาลลำไยลำพูนผลไม้มหัศจรรย์" ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬากลาง จังหวัดลำพูน ภายในงานจะมีการจัดแสดงและเลือกซื้อสินค้าพื้นบ้านหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อีกมากมาย ในงานนี้คาดว่าจะมีการนำนักธุรกิจต่างประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม เข้าชมงานเทศกาลลำไยลำพูนด้วย

สถานการณ์ลำไยในปี 2553 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตลำไยจาก 8 จังหวัดภาคเหนือออกสู่ตลอดรวมประมาณ 396,959 ตัน จังหวัดลำพูนซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกลำไยมากที่สุดในประเทศ และเป็นแหล่งผลิต "ลำไยคุณภาพ" เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทุก ๆ ปีในช่วงจังหวัดลำพูน ทำการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริโภคลำไย พร้อมส่งเสริมการจำหน่ายใน 7 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย และจีน 4 มณฑล (เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เสิ่นเจิ้น และเซิ่นหยาง) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินเดีย และเวียดนาม

สำหรับผลผลิตในปีนี้ นายถนอม สุริยะ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน กล่าวว่า "เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศในรอบปีการผลิตลำไยปีที่ผ่านมา มีฝนค่อนข้างน้อย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาลำไยมีการติดดอกออกผลมากเต็มที่ ทำให้การฟื้นตัวของลำไยไม่สมบูรณ์และในช่วงหนาวอากาศหนาวเย็นไม่ต่อเนื่อง ลำไยกระทบปัญหาภัยแล้งยาวนา ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวส่งผลทำให้การติดดอกออกผลของลำไย ในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา"

ส่วนพื้นที่ปลูกลำไยมากที่สุดคืออำเภอลี้ รองลงมาคืออำเภอป่าซาง อำเภอเมือง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอแม่ทา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านธิ และอำเภอทุ่งหัวช้าง ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูนได้ประมาณการผลผลิตลำไยในฤดู เบื้องต้น ดังนี้พื้นที่ปลูกทั้งหมด 271,964 ไร่ พื้นที่ให้ผลในฤดู 251,603 ไร่ เปอร์เซ็นต์การติดผล 63.25 ประมาณการผลผลิตเบื้องต้น 153,887 ตัน

Thursday, July 1, 2010

น้ำลำไย จากลำไยอบแห้งสีทอง

"ลำไย" นั้นสามารถนำมารัปทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งทานเป็นผลไม้ ทำเป็นน้ำลำไย น้ำลำไยปั่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทางเราจะทะยอยนำสูตรการทำต่าง ๆ เขียนลงในบล๊อก
วันนี้ขอนำเสนอวิธีการทำน้ำลำไย จากลำไยอบแห้งสีทอง หรือจากลำไยอบแห้งโดยทั่วไปก็ได้เหมือนกันค่ะ Longan thai-Longan-ลำไยส่งออก

ส่วนผสม
1. ลำไยอบแห้งสีทอง 2 ช้อนโต๊ะ หรือจะมากกว่านี้ก็ได้
2. น้ำเปล่า 10 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง หรือถ้าจะให้หวานชื่นใจใช้น้ำตาลทรายกรวด จะให้รสชาดดีกว่า

วิธีทำ ก็ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ทำตามขั้นตอนดังนี้นะคะ
1. ใส่น้ำ และ "ลำไยอบแห้งสีทอง" ลงในหม้อ แล้วจึงนำไปตั้งไฟให้เดือด ต้มต่อไปจนลำไยพองตัวคืนสู่สภาพเดิมเหมือนลำไยสด
2. เทน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลทรายกรวด ลงไปในน้ำที่เดือด ตั้งไฟต่อไปอีกประมาณ 15 นาที ก็สามารถยกวางพักไว้ให้เย็น
3. ตักน้ำลำไยใส่แก้วที่มีน้ำแข็ง และอย่าลืมตักเนื้อลำไยใส่ไปด้วยนะคะ

เท่านี้ก็จะได้น้ำลำไยที่หอมชื่นใจ สำหรับทุก ๆ คนในบ้าน หรือจะนำมาต้อนรับแขกก็ได้เช่นกันค่ะ
ขายลำไยอบแห้ง-ลำไยอบแห้งสีทอง-ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทอง